ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์
เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย
สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน
(Blue) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel)
ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ
ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster
กับ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจาก
การเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดเล็กๆ นี้ว่า พิกเซล(Pixel)
ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการ
สร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพ
เป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
ดังนั้นการกำหนดพิกเซล จึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือถ้าต้องการใช้งาน
ทั่วๆ ไปจะกำหนดพิกเซลประมาณ 100 – 150 ppi (Pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว” ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก
เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์ เช่นนิตยสาร โปสเตอร์
ขนาดใหญ่จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300 – 350 เป็นต้น
ภาพแบบ Raster ส่วนใหญ่จะเรียกอีกอย่าง ภาพบิตแมพ (Bitmap)
มักนิยมใช้กับ ภาพถ่าย หรือภาพวาด
เพราะสามารถใส่โทนสีของภาพได้เหมือนจริง แต่ข้อเสียของภาพแบบ Raster ก็คือเมื่อมีการขยายภาพมากๆ ซึ่งขนาดของ Pixel ก็จะเพิ่มขึ้น
ทำให้เห็นภาพ ไม่ละเอียดเป็นขอบหยักๆ
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง
เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง
แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น
การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น