1. กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต
ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
-ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
-ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
-ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics)
1.1ไฟล์สกุล GIF
(Graphics Interlace File)
เป็น
ไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก
จำนวนสีและ ความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส
ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด
ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น : ขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ
ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก
เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย : แสดงสีได้เพียง 256 สี
ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87
พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987
เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต
เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี
และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace) GIF89A พัฒนาขึ้นในปี
ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ
ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา
มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว
1.2 ไฟล์สกุล JPG (Joint
Photographer’s Experts Group)
เป็น อีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี
ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit
color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้
ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต
เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น : สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ
Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
( compress files)
จุดด้อย :
ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10)
แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำแต่ก็มีข้อเสีย คือ
เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์
ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ
1.3 ไฟล์สกุล PNG
(Portable Network Graphics)
จุดเด่น : สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16
bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace) สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย : หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย
แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser
รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape
4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
2. กราฟิกสำหรับงานพิมพ์
2.1 TIFF
(Tagged Image File Format)
TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ
bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus
Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน
Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged
Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง
Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field
ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น
สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด
ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท
สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap
ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap
อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม
Desktop Publishing
เช่น PageMaker,
QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี
ขาวดำ 1 บิต, Grayscale (4,8, 16 บิต),
แผงสี (ได้ถึง 16 บิต), สี
RGB (ได้ถึง 48 บิต), สี CMYK (ได้ถึง 32 บิต)
การบีบขนาดข้อมูล
LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ
2.2 EPS (Encapsulated PostScript)
EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ
PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก
ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ
Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข
Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ
EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ
จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น
เพราะเครื่องพิมพ์ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้ Encapsulated
PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS ระบบปฏิบัติการ
Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน
EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe PostScript
ซอฟต์แวร์ ที่สร้างและเปิดไฟล์
โปรแกรมแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop
Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW, PageMaker,
QuarkXPress, Adobe Illustrator ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGB และ HSB 32 บิต,
CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์ การบีบขนาดข้อมูล
การใส่รหัสแบบไบนารี
2.3 PDF (Portable Document
Format)
PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม
Adobe Acrobat ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น
บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร
เช่น โบร์ชัวร์ หรือ แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap
และ Vector และสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
PDF เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบ
อักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ PostScript
ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ
โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ Illustration
หรือ Bitmap ได้อีกด้วย
และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ ไม่ว่าจะใช้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด
เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูล
PostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ
โปรแกรมประเภท Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS
Portable Document Format นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos
ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์
PhotoShop,
Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB, Indexed-ColorPhotoShop, Acrobat CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap
Color
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น